Friday, June 27, 2014

10 ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นทั่วโลก

โลกเรานี้เต็มไปด้วยเรื่องที่ไม่คาดคิดอยู่มากมาย ผู้คนมักจะใช้คำว่า “ผิดธรรมชาติ” หรือ “ธรรมชาติวิปริต” มาอธิบายสิ่งที่พวกเขาเห็นว่ามัน “ผิดแปลก” แต่จริงๆแล้วความ “แปลก” นั้นเกิดจากการที่เรานำไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราคิดว่าเป็น “ธรรมดา” หรือ “ปรกติ” แต่แท้ที่จริงแล้วเหตุการณ์หลายอย่างนั้นเป็นเรื่อง “ปรกติ” ธรรมดาของธรรมชาติบนโลกที่มีอายุหลายพันล้านปี เพียงแต่ว่าในช่วงชีวิตที่แสนสั้นของคนเรานั้นเราอาจจะไม่ได้เห็นปรากฏการณ์เหล่านี้เลย ทำให้เราคิดไปว่าสิ่งที่เป็น “ธรรมดา” ของโลกนั้นเป็นสิ่งที่ “ผิดปกติ” ไป นี่คือตัวอย่างของปรากฏการณ์ที่อาจจะฟังดู “ผิดธรรมชาติ” หรือ “แปลกประหลาด” ที่เกิดขึ้นเป็นนิจบนโลกของเรา

1) พายุที่ไม่มีวันดับ

“สายฟ้าแห่งคาตาทุมโบ” (Catatumbo Lightings) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นบริเวณปากแม่น้ำคาตาทุมโบ ส่วนที่ต่อกับทะเลสาป Maracaibo ในประเทศเวเนซุเอรา เมฆพายุขนาดใหญ่และสายฟ้าที่ยาวกว่า 5 กิโลเมตรนี้ จะเกิดขึ้นประมาณ 140 ถึง 160 วันต่อปี และสายฟ้านี้จะผ่าติดต่อกันได้ถึงวันละ 10 ชั่วโมง และมากที่สุดถึงชั่วโมงละ 280 ครั้ง ข้อมูลล่าสุดบอกว่า หลังจากที่ได้เกิดขึ้นติดต่อกันมานานเป็นศตวรรษ (เท่าที่มีการบันทึก) สายฟ้านี้ได้หายไปตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2553 ซึ่งน่าจะเกิดมาจากความแห้งแล้งอย่างหนัก ทำให้เป็นที่กังวลว่าปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้อาจหายไปได้




credit video : http://www.youtube.com/watch?v=kAyoZ8urLkk

2) ฝนปลา




ฝนปลา หรือที่ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “Lluvia de Peces” นั้นเป็นปรากฏการณ์เหลือเชื่อที่เกิดขึ้นติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้วในประเทศฮอนดูรัส โดยจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคมของทุกปี ในเขตเมือง Yoro ทางตอนเหนือของประเทศ ตามปรกติจะเริ่มจากเมฆดำแล้วตามด้วยฟ้าผ่า, ลมพายุ, และฝนตกหนักราว 2-3 ชั่วโมง ซึ่งหลังจากฝนหยุดไปแล้ว จะพบปลาเป็นๆ หลายร้อยตัวดิ้นพรวดๆ อยู่บนพื้นดิน ซึ่งชาวบ้านจะจับไปทำเป็นอาหาร เชื่อกันว่าปรากฏการณ์นี้เกิดจากพายุหอบพัดปลาจากมหาสมุทธขึ้นไปแล้วพัดตกลงมาบนแผ่นดิน


3) แพะบนต้นไม้


แพะไม่ว่าที่ไหนบนโลกจะหากินบนพื้น แต่ในประเทศโมรอคโคนั้นคงเป็นที่เดียวในโลกที่แพะชอบที่จะปีนต้นไม้เพื่อหาอาหาร??? ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าแพะที่นี่ชอบกินผลของต้น Argan หรือที่รู้จักกันว่า Goat Tree ซึ่งเป็นต้นไม้พุ่มที่ขึ้นทั่วไปในโมรอคโค ชาวนาก็จะตามฝูงแพะเพื่อไปเก็บเมล็ดของต้น Argan (แพะย่อยไม่ได้) ซึ่งสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและเป็นสินค้าส่งออกราคาแพงอันเป็นที่ต้องการของบริษัทผู้ผลิตน้ำหอมในยุโรป


credit video : http://www.youtube.com/watch?v=ErGoc0m0TuE

4) ฝนเลือด


ในช่วงเดือนกรกฏาคมถึงกันยายนของปี 2544 ได้มีปรากฏการณ์ประหลาดเกิดขึ้นในเมืองเคลาลาของอินเดีย นั่นคือมีฝนสีแดงตกลงมาทั่วทั้งฟ้า นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำฝนที่เก็บได้แล้วพบว่าสิ่งที่ตกลงมานั้นไม่ใช่เลือดตามที่ชาวเมืองเข้าใจ แต่เป็นน้ำที่มีตะกอนฝุ่นสีแดงในปริมาณมากจนทำให้น้ำมีสีแดงคล้ายเลือด


5) รุ้งเพลิง


คนส่วนใหญ่จะรู้จักรุ้งกินน้ำว่าเป็นแถบสีรูปโค้งบนท้องฟ้าหลังฝน แต่ถ้ารุ้งกินน้ำไม่ได้เป็นรูปโค้งล่ะ? คงจะเป็นสิ่งที่ผิดหูผิดตาผู้คนไม่น้อย รูปแบบที่แปลกตาและหาดูยากที่สุดเห็นจะเป็นสิ่งที่รู้จักกันในชื่อ รุ้งเพลิง (Fire Rainbow) ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกับเปลวเพลงสีรุ้งพาดผ่านท้องฟ้า ปกติจะเห็นเป็นแถบขนานไปกับขอบฟ้า แต่อาจเปลี่ยนไปขึ้นกับตำแหน่งที่เกิด


6) เมฆตะปุ่มตะป่ำ


Mammatus Cloud หรือที่บางทีเรียกว่า เมฆตะปุ่มตะป่ำ (Bumpy Cloud) เป็นปรากฏการณ์ที่มักเกิดตอนมีพายุหรือทอร์นาโด มักเกิดขึ้นในช่วงตอนกลางและตะวันออกของสหรัฐฯ เมฆจะปรากฏพื้นผิวที่เรียบและดูตะปุ่มตะป่ำเหมือนกับฟองน้ำ ซึ่งรูปลักษณ์ที่แปลกตานี้เกิดจากส่วนผสมของน้ำแข็งกับน้ำในก้อนเมฆ


7) คลื่นทวนแม่น้ำ


คุณอาจแปลกใจว่าสถิติของคลื่นที่มีความยาวที่สุดในโลกนั้นไม่ได้เกิดในทะเล แต่เกิดขึ้นในแม่น้ำ?? ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพัทธ์ถึงมีนาคมของทุกปี น้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกจะดันน้ำบริเวณปากแม่น้ำอเมซอนในบราซิลให้ไหลกลับเข้าไปในแม่น้ำ ทำให้เกิดคลื่นที่อาจสูงได้ถึง 4 เมตรเคลื่อนที่ทวนแม่น้ำกลับเข้าไปในแม่น้ำได้ลึกถึง 13 กิโลเมตร (จากปากแม่น้ำ) ซึ่งคลื่นที่ยาวที่สุดนั้นเกิดขึ้นในปี 2546 ซึ่งวัดความยาวคลื่นได้ถึง 12 กิโลเมตร และเกิดขึ้นนานถึง 37 นาที เป็นหนึ่งในสถานที่เล่นกระดานโต้คลื่นยอดนิยม


8) ตะวันดำ


ในช่วงก่อนตะวันตกดินในฤดูใบไม้ผลิของทุกปีของประเทศเดนมาร์ก จะมีกลุ่มก้อนสีดำเคลื่อนที่ผ่านขอบฟ้าและมีการเปลี่ยนรูปร่างระหว่างเคลื่อนที่ สิ่งนี้รู้จักกันในชื่อ ตะวันดำ (Black Sun) แต่ที่จริงนั้นเป็นกลุ่มของนกอพยพชนิดหนึ่งที่เรียกว่า startlings ซึ่งบินจากที่ต่างๆ มารวมตัวกันก่อนที่จะเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณแพร่พันธุ์ในแถบสแกนดิเนเวีย


9) เสาลำแสง


เสาลำแสง (Light Pillar) เป็นภาพลวงตาที่เกิดขึ้นการสะท้อนของผลึกน้ำแข็งขณะที่พระอาทิตย์อยู่บริเวณขอบฟ้า ทำให้เห็นเป็นลำแสงพุ่งตรงขึ้นไปบนท้องฟ้า ซึ่งนอกจากแสงอาทิตย์แล้วปรากฏการณ์นี้ยังสามารถเกิดได้จากแหล่งกำเนิดแสงอื่นเช่น แสงจันทร์ หรือ แม้กระทั่งแสงไฟบนถนน


10) รุ้งพระจันทร์


ถ้าการที่รุ้งกินน้ำพาดผ่านท้องฟ้ายามกลางวันอาจฟังเป็นเรื่องแปลกสำหรับบางคน แต่รุ้งที่เกิดขึ้นทั้งๆ ที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้วนี่นับว่าแปลกยิ่งกว่า Moonbow หรือ รุ้งพระจันทร์ นี้เป็นปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่พระจันทร์เต็มดวงและเกิดในบางสถานที่เท่านั้น หนึ่งในสถานที่ที่ดีที่สุดที่จะเห็นรุ้งนี้ได้คือ น้ำตก Cumberland Falls ในรัฐเค็นตั๊กกี้ของสหรัฐฯ รุ้งประเภทนี้เกิดจากแสงที่สะท้อนมาจากดวงจันทร์ จึงมีสีที่ค่อนข้างซีดและมักจะเกิดขึ้นในทิศทางตรงข้ามกับพระจันทร์



แหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=595036

Friday, June 20, 2014

ย้อนอดีตน้ำท่วม พ.ศ.2485 เด็กสนุก ผู้ใหญ่ทุกข์ใจ








ย้อนอดีตน้ำท่วม พ.ศ.2485 เด็กสนุก ผู้ใหญ่ทุกข์ใจ
น้ำท่วมใหญ่ปี 2485 ทำให้ประชาชนต่างต่างออกมาพายเรือกันอย่างคึกคักที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า
       "...ด้วยปรากตว่า ฝนตอนต้นรึดูพุทธสักราช 2485 ตกมากทางภาคพายัพและภาคอิสาน เปนเหตไห้น้ำท่วมเรือกสวนไร่นา และบ้านเรือนราสดรทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคอิสาน ไนระหว่างเดือนกันยายน ตุลาคม และพรึสจิกายน เปนอุทกภัยครั้งสำคันไนประวัติการน์น้ำท่วมของเมืองไทยที่ทำความเสียหายไห้แก่ประชาชนพลเมืองเปนหย่างมาก..."
   
       ส่วนหนึ่งของบทนำในหนังสือ "เหตุการน์น้ำท่วม พ.ส.2485" ของ กระซวงมหาดไทย (ภาษาที่ใช้เป็นภาษาตามต้นฉบับของหนังสือ ซึ่งเป็นภาษาไทยที่ใช้กันในสมัยนั้น)
   
       จากข้อความข้างต้นในหนังสือที่กระทรวงมหาดไทยได้ทำการบันทึกไว้ ได้บ่งบอกให้เห็นว่าปี พ.ศ. 2485 นับเป็นหนึ่งในปีแห่งประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์น้ำท่วมประเทศไทย ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ปรากฏอยู่ตามบันทึกและเอกสารต่างๆ มากมาย โดยอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2485 นั้นเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อครั้งที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
   
       สถานการณ์ตอนนั้นน้ำท่วมหลายจังหวัดในภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ปิง วัง ยม น่าน ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง และทางภาคอีสานและภาคใต้ ซึ่งถือว่าเป็นปีหนึ่งที่มีน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ก่อนที่จะมีการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่คือ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์
   
       สำหรับกรุงเทพฯ เมืองที่มีชัยภูมิเอื้อต่อการถูกน้ำท่วม แน่นอนว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2485 ได้เปลี่ยนโฉมกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร (ของคนยุคนั้น) ให้กลายเป็นทะเล (น้ำจืด) ขนาดใหญ่ ที่ในหลายๆ พื้นที่มีคนนำเรือออกมาพายกันเป็นทิวแถว
   
       ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ ในครั้งนั้น คนที่มีอายุในวัยหลัก 7 หลายคนๆ ยังจำได้ดี เพราะในขณะที่ผู้ใหญ่ (สมัยนั้นที่ปัจจุบันต่างก็อำลาโลกไปกันหมดแล้ว) หลายๆ คนรู้สึกเป็นทุกข์และเดือดร้อนกับน้ำท่วม แต่ว่าพวกเขาที่ช่วงนั้นอยู่ในวัยเด็กกลับรู้สึกสนุกต่อการออกพายเรือเล่นน้ำ และทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับน้ำอีกสารพัดอย่าง


ย้อนอดีตน้ำท่วม พ.ศ.2485 เด็กสนุก ผู้ใหญ่ทุกข์ใจ

น้ำท่วมปี 2485 ทำให้ถนนราชดำเนินกลายเป็นทะเลสาบไปโดยปริยาย
       รำลึกความหลังเมื่อครั้งน้ำท่วมปี 2485
   
       "ในสมัยก่อนน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ เป็นฤดูกาลที่แน่นอน คือเมื่อฝนตกทางเหนือมากน้ำก็จะหลากลงมา สมัยนั้นยังไม่มีเขื่อน พอน้ำไหลโกรกลงมากรุงเทพฯ ก็ถูกน้ำท่วมเป็นธรรมดา เพราะกรุงเทพฯ มันเป็นที่ต่ำ มันเป็นแอ่งน้ำ เป็นก้นกระทะของประเทศ เพราะฉะนั้นกรุงเทพฯจะถูกน้ำท่วมทุกปี โบราณเขาถึงได้บอกว่าเดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง เดือนอ้าย เดือนยี่ น้ำก็รี่ไหลลง"
   
       ลุงจุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ วัย 72 ปี หนึ่งในผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2485 ที่ในปีนั้นลุงจุลทรรศน์เพิ่งมีอายุได้ 9 ขวบ เล่าให้ฟังก่อนที่จะอธิบายเพิ่มว่า ทุกๆ ปีพอน้ำเหนือไหลมาปริมาณน้ำในกรุงเทพฯ จะค่อยๆ ท่วมขึ้นทีละน้อย เมื่อพอสูงขึ้นจนสังเกตเห็นคนกรุงเทพฯ ก็จะรีบขนของย้ายหนีขึ้นที่สูง และส่วนใหญ่ก็จะหนีกันทัน
   
       "ในสมัยนั้นแต่ละบ้านจะมีเรือบดอยู่ พอน้ำเริ่มมาก็เอาเรือออกมาซ้อมด้วยการยาให้หายรั่วก่อนที่จะนำออกมาใช้"
   
       "บ้านใครที่อยู่ใกล้คลองต้องมีเรือ ที่บ้านผมมีคลอง หลังบ้านเป็นคลองทะลุคลองผดุงกรุงเกษมต้องใช้เรือสัญจรไปมาเพราะต้องไปหาพี่น้องที่อยู่ท้องนา พอหน้าข้าวเราพายเรือไปบรรทุกข้าวมากิน" ลุงจุลทรรศน์เล่าอดีต ที่ปัจจุบันบรรยากาศเช่นนั้นได้เลือนหายไปจากกรุงเทพฯ นานแล้ว
   
       ถึงแม้ว่ากรุงเทพฯ จะคุ้นเคยกับเหตุการณ์น้ำท่วม และถูกน้ำท่วม (ในปริมาณไม่มาก) แทบทุกปีในช่วงฤดูน้ำหลากจนกลายเป็นเรื่องปกติของคนยุคนั้น แต่ว่ากลับเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2485 กลับแตกต่างออกไป เพราะถึงแม้ว่าก่อนที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ กองอุตุนิยมวิทยาจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าทางวิทยุกระจายเสียง แต่ว่าด้วยความที่น้ำเหนือหลากมามาก และฝนยังตกติดต่อกันอย่างต่อเนื่องยาวนาน กรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่รับน้ำจึงถูกน้ำท่วม (หนัก) เป็นเวลาร่วม 3 เดือน (ก.ย.–พ.ย.) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ย้อนอดีตน้ำท่วม พ.ศ.2485 เด็กสนุก ผู้ใหญ่ทุกข์ใจ
อนุสาวรีย์ชัยฯ ก็กลายเป็นทะเลสาบเช่นกันในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2485
       โดยในหนังสือ "เหตุการน์น้ำท่วม พ.ส.2485" ได้บันทึกวันที่น้ำท่วมสูงสุดไว้ในบทที่ 1 หมวดข้อความทั่วไปว่า
   
       ...ไนตอนปลายเดือนกันยายน พ.ส. 2485 ระดับน้ำไนแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นเปนลำดับ ทั้งนี้วัดจากระดับน้ำที่กองรังวัดที่ดิน กรมที่ดิน เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า น้ำเริ่มท่วมล้นฝั่งขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 12 ตุลาคม มีระดับน้ำสูงสุด 2.27 เมตร แล้วก็ลดลงโดยลำดับจนแห้งไปหมดราวกลางเดือนพรึสจิกายน...
   
       "ปี 2485 น้ำท่วมกรุงเทพฯ เจิ่งนองไปหมด เอาง่ายๆ ว่าลานพระบรมรูปทรงม้าเราสามารถแจวเรือไปได้สบาย ปีนั้นระดับน้ำบางวันท่วมเลยหัวเข่า ส่วนบางวันก็ท่วมถึงเอว ไปไหนมาไหนก็ต้องใช้เรือ สมัยนั้นไม่มีเขื่อนอย่างสมัยนี้น้ำก็เลยท่วมทุกปี" ลุงจุลทรรศน์หวนรำลึกความหลัง
   
       สำหรับถนนหนทางของกรุงเทพฯ ในยุคนั้นแม้ว่ารถยนต์จะวิ่งไม่ได้ แต่ว่าในถนนบางสายที่น้ำท่วมไม่มากก็ยังคงมีรถรางและรถยนต์ประจำทางสัญจรบ้าง ส่วนบริเวณไหนที่น้ำท่วมสูงถึงระดับเข่าประชาชนต้องใช้เรือเป็นยานพาหนะแทน โดยกรุงเทพฯ ในตอนนั้นกลายเป็นท้องทะเลน้อยๆ ไปโดยปริยาย แน่นอนว่าช่วงแรกๆ ที่น้ำเริ่มท่วมกรุงเทพฯ โกลาหลกันมาก เพราะทั้งรถทั้งเรือต่างแล่นสวนกันไปมาบนถนนขวักไขว่ไปหมด แต่เมื่อปริมาณน้ำมากขึ้นรถยนต์ส่วนตัว รถลาก รถม้า หรือสามล้อรับจ้างก็เริ่มหายไป เหลือเพียงแต่เรือพายไปมาตามท้องถนนที่เต็มไปด้วยน้ำ

ย้อนอดีตน้ำท่วม พ.ศ.2485 เด็กสนุก ผู้ใหญ่ทุกข์ใจ
เมื่อน้ำท่วมประชาชนหันเปลี่ยนมาใช้เรือสัญจรไปไหนมาไหนแทน
       ลุงประพิมพ์ อิศรเสนา อายุ 78 ปี ที่เป็นหนึ่งในผู้อยู่ในเหตุการณ์ซึ่งในปี 2485 ลุงประพิมพ์มีอายุ 15 ปี รำลึกภาพในยุคนั้นให้ฟังว่า
   
       "กรุงเทพฯ ช่วงนั้นมองไปทางไหนก็เห็นแต่ท้องน้ำ ที่ถนนพระอาทิตย์ (บริเวณบ้าน) ของลุงประพิมพ์เดินไม่ได้เลย ต้องใช้เรือสัญจรไปมา บางคนก็ถือโอกาสหารายได้ด้วยการรับจ้างเข็นเรือ เวลาจะไปไหนมาไหนต้องใช้เรืออย่างเดียวเพราะรถวิ่งไม่ได้ โดยช่วงแรกๆ เห็นคนลำบากกันมาก ไปไหนมาไหนไม่ได้เพราะเป็นอุปสรรคในการเดินทาง แต่เมื่อเกิดขึ้นนานเราก็เริ่มปรับสภาพได้ และหาทางไปใช้เรือแทน"
   
       ส่วนลุงจุลทรรศน์ได้เล่าเสริมว่า แม้ว่าน้ำจะท่วมแต่ว่าก็ยังมีคนเอาของมาขาย ข้าวสารก็ยังไม่แพงมาก ส่วนคนกรุงเทพฯ สมัยนั้นก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์น้ำท่วมได้ เพราะว่าที่ผ่านมามีชีวิตผูกพันกับสายน้ำมาตลอด พอถึงหน้าน้ำก็จะมีการเตรียมเสบียงพวกข้าวสาร อาหารแห้ง ปลาเค็ม ปลาแห้ง เอาไว้กินที่บ้าน ไม่เหมือนกับทุกวันนี้
   
       นอกจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2485 จะสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมืองเป็นอย่างมากแล้ว ในช่วงนั้นเมืองไทยยังต้องประสบกับสภาวะคับขัน เพราะต้องร่วมทำสงครามมหาเอเชียบูรพา ด้วยสาเหตุนี้จึงมีคนบันทึกเหตุการณ์ปี 2485 เอาไว้ว่าเป็นปีที่ "ถึงแก่ทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง"
ย้อนอดีตน้ำท่วม พ.ศ.2485 เด็กสนุก ผู้ใหญ่ทุกข์ใจ
ลุงประพิมพ์ หนึ่งในผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2485
       น้ำท่วม 2485 ผู้ใหญ่ทุกข์ เด็กๆ สนุกเพลิดเพลิน
       

       ในขณะที่เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี 2485 สร้างความเดือดร้อนและความยากลำบากให้กับประชาชนทั่วไป แต่ว่าส่วนใหญ่ก็เป็นความยากลำบากทุกข์ใจที่เกิดขึ้นในหมู่ผู้ใหญ่ แต่ว่ากับเด็กๆ (ในยุคนั้น) หลายๆ คนกับรู้สึกแตกต่าง เพราะเมื่อนานๆ เข้าน้ำจะท่วมสูงถึงระดับที่สามารถลงแหวกว่ายและพายเรือได้ พวกเขาจึงใช้ช่วงเวลานี้เล่นน้ำกันอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
   
       "โอ้ย...น้ำท่วมปีนั้นนะรึ ไม่รู้สึกเดือดร้อนเลย แต่กลับรู้สึกสนุกสนานมากกว่า เพราะช่วงนั้นยังเป็นเด็ก (อายุ 15 ปี) พอน้ำท่วมสามารถพายเรือได้ใครมีเรือบดสักลำถือว่าโก้มาก เพราะจะได้พายเรือพาสาวๆ ไปเที่ยว ตอนนั้นบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า หน้ารัฐสภา น้ำท่วมมิดหัวเลย ไม่สามารถยืนได้ ส่วนเราก็พายเรือเล่นไปทั่วลานพระบรมรูปเพราะในตอนนั้นบรรยากาศเหมือนทะเลสาบมาก มีคนไปพายเรือเล่นกันเยอะมาก" ลุงประพิมพ์รำลึกอดีตในวัยเด็กช่วงที่น้ำท่วมใหญ่
   
       เช่นเดียวกับลุงจุลทรรศน์ที่เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปี 2485 ก็รู้สึกสนุกไม่แตกต่างไปจากลุงประพิมพ์
   
       "ช่วงนั้นบ้านลุงอยู่แถวนางเลิ้ง พอน้ำท่วมโรงเรียนต่างก็ปิดหมด ไม่ได้ไปโรงเรียน ทีนี้ก็ถือโอกาสเล่นน้ำกันสนุกเลย เวลาเราพายเรือออกไปเจอเพื่อนฝูงก็จะมาแข่งพายเรือกันอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้พอน้ำมา ปลาก็มาตามน้ำ พอปลามาเราก็ออกไปตกปลากัน เด็กๆ ตกปลา ส่วนผู้ใหญ่ก็เอาแหไปทอด ช่วงนั้นมีปลาเยอะมาก โดยเฉพาะปลาหมอนี่เยอะจริงๆ ตกกันไม่หวาดไม่ไหว เราเป็นเด็กเราก็สนุกไปตามประสา ได้เที่ยวได้เล่นน้ำ เพราะตอนนั้นกรุงเทพฯ น้ำสะอาด ไม่เหมือนสมัยนี้" ลุงจุลทรรศน์กล่าวถึงอดีตอย่างสนุกสนาน ก่อนที่จะเล่าถึงเรื่องสนุกๆ ต่ออีกเรื่องหนึ่งว่า

ย้อนอดีตน้ำท่วม พ.ศ.2485 เด็กสนุก ผู้ใหญ่ทุกข์ใจ
เหตุการณ์น้ำท่วมกทม.ปี 2539
       "สมัยนั้นที่บริเวณสะพานพุทธน้ำจะท่วมเยอะมาก แล้วก็เกิดเรื่องขำๆ ขึ้น พอน้ำท่วมน้ำก็ลบแผ่นดินหายหมด มองไม่เห็นว่าตรงไหนเป็นแม่น้ำตรงไหนเป็นถนน เพราะเป็นน้ำเท่ากันหมด ทีนี้ก็เกิดเหตุการณ์รถกับเรือชนกันออกบ่อย แล้วใครเล่าจะไปคิดว่ารถกับเรือมันชนกันได้ยังไง ตอนนั้นที่ลุงเจอคือรถสามล้อกำลังขับมา แล้วจู่ๆ ไอ้เรือแทกซี่มันก็วิ่งมาจากไหนไม่รู้วิ่งมาชนกับสามล้อเข้า แต่ว่าไม่อันตรายเพราะชนกันไม่แรง เรื่องนี้หนังสือพิมพ์ยังลงเลย คนในยุคนั้นถือเป็นเรื่องสนุกๆ"
   
       นอกจากนี้ลุงจุลทรรศน์ยังเล่าอีกว่า ถึงแม้ว่าน้ำจะท่วมแต่โรงภาพยนตร์บางโรงก็ยังคงเปิดฉายกันอยู่ โดยคนดูก็ไม่ย่อท้อ ลงทุนนั่งยองๆ บนเก้ายาวดูภาพยนตร์
   
       และถึงแม้ว่ากรุงเทพฯ จะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมบ่อยครั้ง ตั้งแต่ก่อนปี 2485 และในยุคหลังปี 2485 ที่ก็ยังคงมีน้ำท่วมอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น ใน พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2539 แต่ว่าไม่มีครั้งไหนๆที่น้ำท่วมเป็นระยะเวลานานและท่วมมากเท่าเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2485 ซึ่งลุงจุลทรรศน์และคุณลุงประพิมพ์ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ตั้งแต่เกิดมาปี 2485 ถือว่าเป็นปีที่มีน้ำท่วมหนักและยาวนานมากที่สุด

ย้อนอดีตน้ำท่วม พ.ศ.2485 เด็กสนุก ผู้ใหญ่ทุกข์ใจ
กรุงเทพฯยุคนี้หากเจอกับเหตุการณ์น้ำท่วมถือว่าเป็นภาวะที่หนักหนาสาหัสนัก
       "แต่ว่าคนไทยสมัยก่อนส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่กับน้ำ พอเกิดน้ำท่วมชีวิตก็ยังคงเป็นปกติ ไม่เหมือนสมัยนี้ที่พอฝนตกหนักได้พักใหญ่น้ำก็ท่วมนอง แล้วรถก็ติด คนก็เดือดร้อนกันแล้ว" ลุงจุลทรรศน์เล่าเพิ่มเติม
       
       สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2485 แม้ว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้กับคนส่วนใหญ่ แต่ว่าด้วยความที่คนไทยยุคนั้นมีชีวิตคุ้นเคยและผูกพันกับสายน้ำ พวกเขาจึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างไม่ยากเย็น แต่ว่ามาในวันนี้ หากกรุงเทพฯ ยุคโลกาภิวัตน์เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ดังเช่นปี 2485 กรุงเทพฯ ยุคนี้ พ.ศ.นี้จะเป็นเช่นใด???
       
       หมายเหตุ : ภาพน้ำท่วมในอดีตจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ 


สาระคดี น้ำท่วมปีพ.ศ. 2485




รูปภาพเหตุการณ์น้ำท่วมในปี พ.ศ. 2548 เพิ่มเติม 












แหล่งที่มา : http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000089456
คลิปวิดิโอ : http://www.youtube.com/watch?v=mAxjvp5YBU0
รูปภาพเพิ่มเติม :
-http://haadmin.kapook.com/img/image/News/BKfloods-3.jpg
-https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhbUMLIOIqGTMkS9BYKlOBS-ebEKYMcfAIvN8wb83txazWt5aJ1MP-3YgwPSmz267-RYgo2LX_BYft3cbkhdIjmB3UtUUYsuR9AlvZn0bN3vI5Ha6BpvkVXQbGUyP9sW9HqE0SWVdWboiqZ/s640/flooding+bangkok+2485_02.jpg
-http://sv6.postjung.com/picpost/data/114/114919-8-9976.jpg
-https://act-eco.net/2013/wp-content/uploads/2013/06/Turtle-Car.jpg


Friday, June 13, 2014

9 ภาพการ์ตูน สื่อถึงปัญหามลภาวะในมหาสมุทรจากน้ำมือมนุษย์

ในเดือนที่ผ่านมา ผู้จัดการแข่งขันวาดภาพการ์ตูน Niels Bugge ได้ประกาศให้นักวาดการืตูนจากทั่วทุกมุมโลกร่วมส่งผลงานภาพวาดเข้าประกวด ภายใต้หัวข้อสภาพภูมิอากาศที่ว่า "Oceans are in our hands" หรือมหาสมุทรนั้นอยู่ในมือเรา จุดมุ่งหมายของการแข่งขันเพื่อให้ 75 ประเทศทั่วโลกนั้น ได้มีส่วนร่วมในการสือความหมายเกี่ยวกับปัญหามลภาวะในมหาสมุทร ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์  
   
     โดยที่มาของหัวข้อนั้น เป็นความตระหนักถึงความยิ่งใหญ่ของมหาสมุทรที่โอบอุ้มหลายล้านชีวิต อีกทั้งมันยังมีขนาดใหญ่กว่าพื้นดินที่ตอนนี้กำลังจะหมดไปเพราะการตัดไม้ทำลายป่า รวมไปถึงปัญหาของสัตว์ใต้ท้องทะเล ที่ลดลงเพราะมีพลาสติกเข้ามาแทนที่ ปะการังที่หมดไปเพราะการเพิ่มขึ้นของขยะใต้มหาสมุทร และปริมาณน้ำสะอาดที่เหลือน้อยเพราะเต็มไปด้วยคราบน้ำมัน ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจึงเป็นเหตุผลที่ทุกคนควรเริ่มใส่ใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเสียตั้งแต่ตอนนี้ ถ้าในอนาคตนั้นยังอยากมีโลกไว้อาศัยอยู่ได้
     โดยการแข่งขันนั้นได้รับการตอบรับจากงานที่เข้าประกวดกว่า 1,000 ชิ้น จากหลายประเทศทั่วโลก ในรูปแบบการวาดการ์ตูนที่สือความหมายว่ามนุษย์นั้นส่งผลต่อโลกใบนี้อย่างไร 


Andrei Popov (จากประเทศรัซเซีย)





Bruce Mackinnon (จากแคนาดา)



Pawel Kuczynski (จากโปแลนด์)



และผลงานของนักวาดภาพคนอื่นๆ 












source (ที่มา) ; http://www.huffingtonpost.com/2014/06/07/niels-bugge-cartoon-award_n_5455509.html?utm_hp_ref=climate-change
Traslator by ; http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=54&cno=5833

Sunday, June 1, 2014

10 มาตรการ ประหยัดไฟฟา


      ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปดเผยวาการประหยัดพลังงานถือเปนหนาที่ของประชาชนทุกคนทั้ง 64 ลานคน ตองชวยกัน กระทรวงพลังงานในฐานะการกำกับดูแลดานพลังงาน จึงไดเรงพัฒนาพลังงานทดแทน ควบคูกับดำเนินมาตรการประหยัดพลังงาน ซึ่งหากคนไทยทุกคน ทั้ง 14 ลานครัวเรือน ชวยกันประหยัดพลังงานทุกวันกจะสามารถลดใชพลังงานไดตามเปาหมายสูงถึง 5,900 ลานบาท จากปริมาณการใชพลังงานโดยรวม 22,000 ลานหนวย หรือคิดเปนเงิน 59,000 ลานบาท ทั้งนี้  เพื่อใหการประหยัดพลังงานประสบผลสําเร็จ สนพ.จึงไดกำหนดมาตรการออกมา 10 มาตรการ เพื่อเปนแนวทางใหประชาชนทุกคนนำไปปฏิบัติเพื่อประหยัดพลังงานภายในบานเรือนเปนประจําทุกวัน ดังนี้



      • ปิดไฟฟ้า 1 ดวง หรือ ถอดหลอดไฟที่ไมใชออก จะสามารถประหยัดพลังงานได 2,519 ลานบาท/ป
      • ตั้งอุณหภูมูิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศา จะชวยประหยัดไฟฟาได 10% และปดกอนเลิกใช 30 นาที หรือลดเวลาการเปดแอร 30 นาที สามารถลดใชพลังงานได 6% ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานไดประมาณ 2,642 ลานบาท/ป

      • ตั้งตู้เย็นห่างผนัง 15 เซนติเมตร จะชวยประหยัดไฟฟาได 10% ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได 2,642 ลานบาท/ป
      • ปิดโทรทัศนเมื่อไมมีคนดู หรือเลือกใชโทรทัศนขนาด 14 นิ้ว แทน 20 นิ้ว จะสามารถประหยัด
พลังงานได 2,642 ลานบาท/ป
      • ใชหลอดฟลูออเรสเซนท์ 18 วัตต แทนหลอดไส 100 วัตต จะสามารถประหยัดพลังงานได 423 ลานบาท/ป
        • ถอดปลั๊กเตารีดกอนรีดเสื้อผาเสร็จ 2-3 นาที จะสามารถประหยัดพลังงานได 49 ลานบาท/ป
      • เสียบปลั๊กกระติกนํ้ารอนเมื่อใช จะสามารถประหยัดพลังงานได 579 ลานบาท 


      •ใช้จอคอมพิวเตอร 15 นิ้ว แทน 17 นิ้ว และปดหนาจอเมื่อไมใช จะสามารถประหยัดพลังงานได 92 ลานบาท/ปี
      • อย่าเสียบปลัีกไฟฟาทิ้งไวเมื่อไมใชงาน จะสามารถประหยัดพลังงานได 3 ลาน บาท/ปี ขับรถไมเกิน 90 กิโลเมตรตอชั่วโมง จะสามารถประหยัดพลังงานได  12,150 ลานบาท/ป





ข้อมูล :
กระทรวงพลังงาน 
via: http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/knowledge/elec_save.pdf

รูปภาพประกอบ :
-  https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhWyAf4BdUKrS6LmNQ1w_CV4tLCVj9pS4RnazlGFK4rdAqlv6J6SPV7D16p9kZhyphenhyphenB7kbFXfMbDISw-8AurhKZ5hZSo-SyYcnkIJ5Yak_LTzJhhWt90Bd9moevw8gxoQPVL5A4xS1L_lehZx/s320/howtosave06%5B1%5D.gif
- http://assets.inhabitat.com/wp-content/blogs.dir/1/files/2012/10/SaveEnergySmall-infographic-lead-1.jpg